blogger นี้ทำเพื่อการนำเสนองานวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม



by www.zalim-code.com

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

"โรคไมเกรน" รักษาแบบไม่ต้องพึ่งยา!

โรคไมเกรนคงจะเป็นอีกหนึ่งอาการที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเป็น อย่างที่เรารู้กันดีว่าชีวิตประจำวันที่แสนจะวุ่นวายของใครหลายๆ คนไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่เร่งรีบ การนั่งอยู่หน้าคอมนานเกิน 3-4 ชั่วโมง การรับประทานอาหารไม่ครบหมู่ การผักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการที่ร่างการมีความเครียดสะสมอยู่มากๆ ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุุทั้งหมดของการเกิดโรคต่างๆ รวมถึง โรคไมเกรน ที่จะเป็นกับบุคคลที่ต้องใช้สายตาเพ่งมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งติดต่อกันหลายๆ ครั้งเป็นเวลานานๆ มักจะมีอาการปวดศีระษะ ปวดคอ ปวดบ่า ปวดหลัง ปวดสะบัก มึนศีรษะทั้งหมดนี้คืออาการของ โรคไมเกรน ที่มักจะรบกวนชิวีตประจำวันของเราอยู่เรื่อยๆ แต่ถ้าจะให้กินยาบ่อยๆ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีสักเท่าไหร่วันนี้เราก็เลยนำเอาความรู้เกี่ยวกับ โรคไมเกรน ที่รักษาแบบไม่ต้องพึ่งยามาฝากกันค่ะ แต่ถึงยังไงร่างกายคนเราก็ไม่ใช่เครื่องจักรต่อให้มีวิธีแนะนำดีๆ แค่ไหนถ้าร่างกายของคุณไม่ได้พักก็จะแย่ได้เหมือนนะค่ะ ยังไงก็หาเวลาให้ร่างกายได้พักบ้างนะค่ะ


"โรคไมเกรน" รักษาแบบไม่ต้องพึ่งยา!

แพทย์อายุรเวท วิภาพร สายศรี แพทย์ประจำคลินิกรักษาไมเกรนและโรคปวด ดอกเตอร์แคร์คลินิกได้ให้คำแนะนำไว้ว่า อาการปวดศีรษะเป็นโรคยอดนิยมของคนทั่วไปในยุคนี้ เมื่อใครปวดศีรษะขึ้นมาก็จะคิดถึงยาสามัญประจำบ้านอย่างยาแก้ปวดเป็นอันดับ แรก แต่ถ้ากินยาแล้วยังไม่หายตรวจร่างกายแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติอย่างนี้ถือว่า เข้าข่ายเป็นโรค ‘ไมเกรน' ค่ะ

โรคไมเกรนเป็นโรคที่สร้างความทรมานให้ กับผู้ป่วยพบได้มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั่วโลก และยังไม่มีวิธีการรักษาใดๆ ช่วยให้หายขาดได้เป็นแต่เพียงแค่การรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะให้ทุเลา ลงเท่านั้น อาการของไมเกรนก็คือ ปวดศีรษะข้างเดียว ซึ่งเกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณบ่า คอ ท้ายทอย และเกิดก้อนเนื้ออักเสบที่เรียกว่า Trigger Point บริเวณดังกล่าว มีผลทำให้เลือดและออกซิเจนไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณศีรษะได้ไม่สะดวก เมื่อได้รับปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวมากขึ้น เช่น ความเครียด แสง สี เสียง กลิ่น หรือการ พักผ่อนไม่เพียงพอ จึงเกิดอาการปวดศีรษะข้างเดียวหรือไม่ก็ปวดสลับข้าง

แต่ปัจจุบันนี้ มีวิธีการรักษาโรคไมเกรนแบบใหม่ซึ่งใช้วิธีการของแพทย์สมัยใหม่ร่วมกับการกด จุด เรียกว่า ‘การรักษาแบบ DMT' (DoctorCare Manipulation Technique) วิธีการนี้ผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานยาหรือผ่าตัดเป็นการรักษาไมเกรนที่เห็นผล ชัดเจน โดยสามารถรักษาได้ทั้งอาการไมเกรนเฉียบพลันและป้องกันการกลับมาของอาการไม เกรนได้ดี DMT จะช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับระบบต่างๆ ของร่างกายที่ทำงานผิดปกติ เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ประสาท การไหลเวียนเลือด โดยจะช่วยพลิกฟื้นระบบต่างๆ ของร่างกายให้เข้าสู่สภาวะสมดุลอีกครั้ง ทั้งยังช่วยให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ รวมถึงสภาวะทางจิตใจกลับมาทำงานสอดคล้องประสานกันทั้งระบบ ซึ่งกระบวนการนี้ เป็นกระบวนการรักษาสุขภาพที่ยั่งยืน

โรคไมเกรน


แนวทางการรักษาโรคไมเกรน

การรักษาแบบ DMT นั้น แพทย์อายุรเวทจะสอบถามถึงอาการปวด ตำแหน่งที่ปวด และปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวด โดยนำข้อมูลที่ได้จากผู้ป่วยไปเข้าโปรแกรมการสร้างความสมดุลของร่างกาย ร่วมกับเทคนิคการกดจุด เพื่อกระตุ้นการทำงานของทุกระบบในร่างกายร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อและการ บริหารร่างกาย


ขั้นตอนการรักษาแบบ DMT

- ตรวจสภาพกล้ามเนื้อและตรวจหาตำแหน่ง Trigger Point ที่มีการกดทับ
- กดคลายกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งเหนือจุด Trigger Point
- กดสลาย Trigger Point เพื่อให้ Trigger Point คลายตัวออกเป็นกล้ามเนื้อปกติและกระตุ้นให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงศีรษะได้ดีขึ้น
- ยืดกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น คลายตัว และเคลื่อนไหวได้ดี

กระบวน การดังกล่าวจะช่วยฟื้นฟูระบบต่างๆ ของร่างกายให้เข้าสู่สภาวะปกติได้ใหม่อีกครั้ง การรักษาใช้เวลาเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยประมาณ 4-6 ครั้ง ผู้ที่เข้ารับการรักษากว่า 80% จะไม่มีอาการปวดรบกวนอีก อย่างไรก็ตามหลังจากครบโปรแกรมการรักษาแล้วก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงการใช้กล้าม เนื้อต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานด้วย

อย่างไรก็ตามการป้องกันตัวเองไม่ ให้เจ็บป่วยจากโรคเป็นสิ่งที่ดีที่สุดซึ่งโรคไมเกรนนี้สามารถป้องกันได้ไม่ ยากขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัว เช่น อย่าใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเกินกว่า 2 ชั่วโมง ยุติกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณบ่าและคอทันทีที่รู้สึกเกร็ง บริหารกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและคอ ด้วยการยืดกล้ามเนื้อหลังการใช้คอมพิวเตอร์ทุกครั้ง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เมื่อมีอาการปวดศีรษะ พักผ่อนและทำสมาธิเมื่อมีความเครียดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ประคบน้ำอุ่นบริเวณบ่าและต้นคอเพื่อทำให้กล้ามเนื้อคลายจากการเกร็งตัว หลีกเลี่ยงแสงจ้า หรือสวมแว่นตากันแดด เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสารเปรี้ยว ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น