blogger นี้ทำเพื่อการนำเสนองานวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม



by www.zalim-code.com

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

โยคะเพื่อสุขภาพ


โยคะ เป็นศาสตร์ของการบริหารร่างกายและจิตใจ ซึ่งสามารถช่วยบริหารต่อมฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ท่านผู้อ่านอาจจะยังคงจำได้นะคะว่า เมื่อปีที่แล้วหมอชาวบ้านเคยนำเรื่องราวของผู้ที่ฝึกโยคะเพื่อสุขภาพมาเสนอ บ้างแล้วในบทสัมภาษณ์ของ ดร.เกียรติวรรณ อมาตยกุล ผู้ซึ่งคลายอาการปวดเข่าด้วยการปฏิบัติโยคะเป็นประจำ ในคอลัมน์เดียวกันนี้ปรากฏว่า มีท่านผู้อ่านไถ่ถามติดตามกันมาตลอด ขอให้ลงวิธีฝึกโยคะของท่านเพื่อเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติหมอชาวบ้าน จึงขานรับกับความต้องการของท่านผู้อ่าน ครั้งนี้จึงขอความกรุณาจาก ดร.เกียรติวรรณ อมาตยกุล แนะนำท่าที่ปฏิบัติได้ง่ายๆ และสามารถนำไปฝึกฝนได้ และอาจารย์ก็กรุณาให้ผู้ช่วยเป็นผู้สาธิตวิธีปฏิบัติโยคะ ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีสุขภาพที่แข็งแรง ถ้าปฏิบัติอย่างถูกต้องและต่อเนื่องกันเป็นประจำ ดังนี้
ก่อนจะทำการ ฝึกโยคะในแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องมีการอบอุ่นร่างกายก่อน แต่สามารถทำได้ทันทีในเวลาที่เหมาะสม ในช่วงที่ท้องว่างก่อนกินอาหารในช่วงเช้าหรือเย็น หรือช่วงหลังการกินอาหารแล้วประมาณ 2½-3 ชั่วโมง การฝึกโยคะที่สำคัญอยู่ที่การทำเป็นประจำ และทุกครั้งที่ทำ สิ่งที่สำคัญมากที่สุด ก็คือ ความคิดและลมหายใจ สติของเราต้องอยู่ที่การเคลื่อนไหวของร่างกาย ลมหายใจ และความคิดในสิ่งที่ดี เช่น หายใจเข้า เราได้รับพลังที่บริสุทธิ์จากธรรมชาติ ได้รับความรู้สิ่งที่ดีๆ เข้ามา และเมื่อเราหายใจออก เราเอาความเหนื่อย ความเครียด อารมณ์ไม่ดีต่างๆ ออกไปจากตัวเรา ดังคำที่ควรระลึกอยู่ในใจขณะปฏิบัติ ดังนี้
Babanam        Kevalam
บาบานัม           เควาลัม
(หายใจเข้า)    (หายใจออก)

พื้นฐานการฝึกโยคะ  จะต้องมีการฝึกท่าโยคะซึ่งเป็นการบริหารร่างกายให้มีสุขภาพดีมีความยืดหยุ่น และมีการรักษาสมดุลระหว่างร่างกายกับจิตใจให้มีความกลมกลืนลงตัวทั้งการฝึก ทางร่างกายและจิตใจควบคู่กันไปอย่างมีสมาธิ ระหว่างการฝึกโยคะท่าต่างๆ โดยการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างช้าๆ ตามท่าโยคะแต่ละท่าจะมีการควบคุมลมหายใจเข้า-ออก ให้มีความสอดคล้องกับท่าโยคะท่านั้นๆ การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เคลื่อนไหวไปอย่างช้าๆ พร้อมกับการควบคุมลมหายใจเข้าและออกจะกระตุ้นให้อวัยวะต่างๆ รวมทั้งระบบไหลเวียนของเลือดลมในร่างกายให้ทำงานได้อย่างเต็มที่และดีขึ้น กว่าเดิม

โยคะมีหลายชนิดเช่น Raja Yoga , Karma Yoga , Bhakti Yoga , Mantra Yoga , Hatha Yoga ฯลฯ การฝึกโยคะแต่ละชนิดก็จะมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไปแต่ที่น่าสนใจคือ Hatha Yoga ที่มีจุดประสงค์เพื่อฝึกร่างกายให้มีความยืดหยุ่น แข็งแรง การไหลเวียนของเลือดลมที่ดีด้วยการออกกำลังฝึกท่าโยคะและฝึกลมปราณ(การควบ คุมลมหายใจ)อย่างมีสมาธิ Hatha Yoga และโยคะชนิดต่างๆ สามารถนำมาประยุกต์หรือเลือกใช้(ฝึก)ให้ตรงกับจุดประสงค์ของคนที่จะฝึกได้ เช่น ถ้าเราต้องการใช้โยคะเพื่อลดความเครียดความเหนื่อยล้าจากการทำงานให้เกิดการ ผ่อนคลายซึ่งอาการเครียดมักแสดงออกผ่านทางอวัยวะส่วนต่างๆ ที่เห็นได้ชัดคือ ศีรษะ คอ ไหล่ บ่าและบริเวณแผ่นหลังช่วงบนทำให้เกิดอาการปวด ตึง เมื่อยล้าในบริเวณดังกล่าวก็สามารถเลือกฝึกท่าโยคะที่เน้นเฉพาะท่าที่ทำให้ เกิดผล(ทางผ่อนคลาย)กับอวัยวะส่วนที่เกิดปัญหานั้นๆ ได้

ในปัจจุบันมีวิวัฒนาการจากโยคะที่มีอยู่เดิม เป็น “โยคะร้อน” (Bikram Yoga) ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก จุดเด่นหรือลักษณะพิเศษของโยคะร้อนคือเป็นการฝึกท่าโยคะในห้องที่มีอุณหภูมิ สูงใกล้เคียงกับอุณหภูมิของร่างกาย โยคะร้อนจะทำให้กล้ามเนื้อสามารถยืดหยุ่นได้มากกว่าการฝึกโยคะในอุณหภูมิ ปกติ ท่าฝึกโยคะร้อนจะทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็นต้นแขน ขา น่อง ฯลฯ มีความกระชับมากขึ้นและอุณหภูมิที่สูงของสถานที่ฝึกโยคะร้อนยังช่วยให้ร่าง กายขับของเสียผ่านออกมาทางเหงื่อได้มาก รวมทั้งทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น หลังการฝึกโยคะร้อนจะรู้สึกเบาสบายตัวและน้ำหนักตัวจะลดลงอย่างเห็นได้ ชัด(เนื่องจากการสูญเสียเหงื่อ) จึงเป็นที่ถูกใจของกลุ่มคนที่ต้องการลดน้ำหนัก(โดยเฉพาะผู้หญิง)

ประโยชน์ของการฝึกโยคะ(Yoga)จะช่วยสร้างสุขภาพที่ดี(Yoga for healthy)ให้ แก่ผู้ฝึกรวมทั้งความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ข้อพับต่างๆ ของร่างกาย ท่าฝึกโยคะยังช่วยกระชับกล้ามเนื้อให้ผู้ฝึกโยคะมีรูปร่างที่ได้สัดส่วนสวย งาม การเคลื่อนไหวในแต่ละท่าของการฝึกโยคะจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดที่ดี ขึ้น การควบคุมลมหายใจเข้า-ออก จะช่วยขยายปอดให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้โยคะ(Yoga) จะไม่ทำให้เกิดอาการข้อเสื่อมเหมือนการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาบางประเภทและการมีสมาธิในการฝึกโยคะจะทำให้จิตใจสงบอีกด้วย
 

 ที่มา      http://thai-good-health.blogspot.com
             http://doctor.or.th/node

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น